20/04/2024

การเกิดขึ้นของ “พิพิธภัณฑ์ หรือศูนย์เรียนรู้ในเครือข่ายพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นภาคกลาง” ล้วนแต่มีจุดเริ่มต้นมาจากจิตวิญญาณที่รัก และภาคภูมิใจในอัตลักษณ์ท้องถิ่นของตัวเองทั้งสิ้น เป็นครั้งแรกและการรวมตัวครั้งสำคัญ “ศูนย์มานุษยวิทยา   สิรินธร (องค์การมหาชน)”ร่วมกับเครือข่ายพิพิธภัณฑ์ ๓๐ แห่งภาคกลาง จัดงาน “มหกรรมพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นภาคกลาง วิถีวัฒนธรรมแห่งสายน้ำ ประตูสู่สยามประเทศ” จัดขึ้นเป็นครั้งแรกในเมืองไทย ชูแนวคิด “๕ สายน้ำวัฒนธรรม แห่งลุ่มแม่น้ำภาคกลาง” ภายใต้แนวคิด “๕ สายน้ำวัฒนธรรม แห่งลุ่มแม่น้ำภาคกลาง” จาก ๑๔ จังหวัด แบ่งเป็น ๕ กลุ่มสายน้ำ “แม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำป่าสัก-ลพบุรี แม่น้ำแม่กลอง แม่น้ำท่าจีน และแม่น้ำเพชรบุรี”  พร้อมแล้วจะจัดงานนี้ขึ้น ระหว่าง ๒๐-๒๒ พฤศจิกายน ๒๕๖๓ นี้ ที่วัดขนอนหนังใหญ่  อ.โพธาราม    ต.สร้อยฟ้า

การเดินทางจาก กทม. มุ่งหน้าสู่อำเภอโพธารามเพียงแค่ ๘๐ กว่ากิโลเมตร ผ่านตลาดอำเภอโพธาราม ข้ามสะพานแม่น้ำแม่กลองเลี้ยวขวาเข้ามาที่วัดขนอน พบกับการเนรมิตบริเวณลานให้เป็นลานกิจกรรมที่มีทั้งกิจกรรมบนเวทีในโรงมหรสพ และเวทีกลางแจ้ง มาร่วมสัมผัสกลิ่นอายแห่งวัฒนธรรมลุ่มแม่น้ำตลอดระยะเวลา ๓ วันของการจัดงาน ซึ่งจะได้พบกับการเสวนาเชิงวิชาการ การสาธิตและการแสดงวัฒนธรรมพื้นบ้าน

เวทีเสวนาเชิงวิชาการ ณ โรงมหรสพหนังใหญ่ (วัดขนอนหนังใหญ่) วันศุกร์ที่ ๒๐ พฤศจิกายน ๒๕๖๓  เวลา ๑๓.๓๐ – ๑๔.๓๐ น.   การเสวนา :  เสวนาเชิงวิชาการเรื่อง “วิถีวัฒนธรรมชุมชน ๕ ลุ่มน้ำ นำมาซึ่งพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น”      *อ.แสนประเสริฐ  ปานเนียม สำนักศิลปวัฒนธรรม ม.ราชภัฏเพชรบุรี   *ตัวแทนพิพิธภัณฑ์ลุ่มน้ำแม่กลอง *ตัวแทนพิพิธภัณฑ์ลุ่มน้ำเจ้าพระยา *ตัวแทนพิพิธภัณฑ์ลุ่มน้ำท่าจีน *ตัวแทนพิพิธภัณฑ์ลุ่มน้ำเพชรบุรี *ตัวแทนพิพิธภัณฑ์ลุ่มน้ำป่าสัก- ลพบุรี ผู้ดำเนินรายการ : นางสาวปราจิน  เครือจันทร์  หัวหน้าพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติราชบุรี

วันเสาร์ที่ ๒๑ พฤศจิกายน ๒๕๖๓ เวลา ๑๐.๐๐ – ๑๑.๓๐ น. การเสวนา : พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นจะอยู่อย่างไร ในอนาคต *พระครูปลัดสุวัฒนจริยคุณ, ดร. ประธานเครือข่ายพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นล้านนา *นางศาริสา  จินดาวงษ์ ผอ.สำนักศิลปากรที่ ๑ ราชบุรี *อ.พิศาล  บุญผูก พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านกวานอาม่าน *ผศ.ดร.กนกวรรณ  แสนเมือง ปธ.หลักสูตรการท่องเที่ยวฯ มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง ผู้ดำเนินรายการ : นางสาวปราจิน  เครือจันทร์  หัวหน้าพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติราชบุรี

วันเสาร์ที่ ๒๑ พฤศจิกายน ๒๕๖๓ เวลา ๑๓.๐๐ – ๑๔.๓๐ น. การเสวนา : เจาะลึก ทวาราวดีในแดนสยาม  “ถิ่น … ทวาราวดีภาคกลาง สู่สยามประเทศ” *นายมนัสศักดิ์   รักอู่ นักวิชาการอิสระ *รศ.สฤษดิ์พงศ์  ขุนทรง อาจารย์ประจำภาควิชา   โบราณคดี ม.ศิลปากร *ผศ.ดร.กังวล  คัชชิมา ม.ศิลปากร *อ.แสนประเสริฐ  ปานเนียม  สำนักศิลปวัฒนธรรม ม.ราชภัฏเพชรบุรี

วันอาทิตย์ที่ ๒๒ พฤศจิกายน ๒๕๖๓  เวลา ๑๑.๐๐-๑๒.๐๐ น. การเสวนา : “ผลสำเร็จของพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น” *พระครูพิทักษ์ศิลปาคม ประธานเครือข่ายพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นภาคกลาง *ดร.กนกวรรณ  แสนเมือง รองคณะบดีคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง *(ผู้เชี่ยวชาญด้านพิพิธภัณฑ์) ดำเนินรายการโดย  นางสาวปราจิน  เครือจันทร์ หัวหน้าพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติราชบุรี

เวทีลานกลางแจ้ง (เวทีเล็ก)

  1. การจัดแสดงนิทรรศการ ๓๐ พิพิธภัณฑ์ จาก ๕ ลุ่มน้ำ ประกอบด้วย แม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำป่าสัก- ลพบุรี แม่น้ำท่าจีน แม่น้ำเพชรบุรี และแม่น้ำแม่กลอง
  2. ชมผ้าไทยชาติพันธุ์ เช่น ลาวครั่ง ไทยทรงดำ ไทยพวน ไท-ยวน เป็นต้น
  3. นิทรรศการเรียนรู้วิถีชีวิต – วัฒนธรรม
  4. การละเล่นภาคกลาง เช่น การแสดงหนังใหญ่ (พิพิธภัณฑ์หนังใหญ่วัดขนอน) ลิเกมอญ (ชุมชนมอญสังขละบุรี) รำตังบั้งหมอ (พิพิธภัณฑ์ปานถนอม) การแสดงวัฒนธรรมพื้นบ้าน “เซิ้งหางธงสงกรานต์” (พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นลาวครั่ง)
  5. กิจกรรมการสาธิต – อาหาร เช่น กวนกระยาสารท (พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านไทยพวนบ้านดงกระทงยาม) อาหารมอญ (พิพิธภัณฑ์วัดม่วง) ขนมตาล (บ้านหนองขาว) การทำข้าวกระยาคู (พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านไทยพวนวัดฝั่งคลอง)
  6. กิจกรรมการสาธิต – การแกะสลักลายวิจิตร (พิพิธภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผา กวานอาม่าน)
  7. การทอผ้ากี่เล็ก (พิพิธภัณฑ์จันเสน) การทำดอกหน้าหมอน (พิพิธภัณฑ์ปานถนอม) การทำเสื่อกก, ปักสไบมอญ (สไบมอญบางลำภู) การปักลายผ้าไตดำ (พิพิธภัณฑ์ไตดำโบราณ) การสาธิตการตีเหล็ก (บ้านเก่าเล่าเรื่อง ตลาดบางหลวง) การทำกระเป๋าจากผักตบชวา (พิพิธภัณฑ์ชาวนาไทย บ้านลานแหลม)
  8. กิจกรรมสาธิตเวิร์คช็อป เช่น ตัดพวงมะโหด การตอกหนังใหญ่ การตีเหล็ก การทำลูกช่วง การปั้นหม้อน้ำตาลจิ๋ว การระบายสีว่าวตัวเล็ก เป็นต้น
  9. มิวเซียมช็อป ของดีพิพิธภัณฑ์ภาคกลางที่นำมาจำหน่าย
  10. การจำหน่ายสินค้าชุมชนท้องถิ่น

ขอเชิญท่านร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการสืบสานวัฒนธรรมพื้นถิ่น พาลูกหลาน มาชมงานศิลปวัฒนธรรม ที่มีเรื่องเล่าทางประวัติศาสตร์ เหมาะกับการให้เยาวชนและนักท่องเที่ยวที่สนใจท่องเที่ยวในเชิงอนุรักษ์วัฒนธรรม ได้มาศึกษาเรียนรู้ นับว่าเป็นอีกงานหนึ่งที่มิควรพลาด สนใจสามารถติดตามตารางกิจกรรมการแสดง Work shop  และการสาธิตได้ที่ Facebook   :   เพจมหกรรมพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นภาคกลาง  หรือสอบถามเพิ่มเติมได้ที่  สุริสา อาศุศิริ โทร. ๐๙๒-๖๐๕-๖๔๔๕